วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

เงินเดือนป.ตรี 15,000 พ่นพิษ ท้องถิ่นระส่ำ-บี้รบ.จ่ายเอง


คอลัมน์ เจาะประเด็นร้อนอปท.: เงินเดือนป.ตรี 15,000 พ่นพิษ ท้องถิ่นระส่ำ-บี้รบ.จ่ายเอง  
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555           อัมพร สิทธิผา
         
          น่า สนใจประเด็นปัญหาของคนท้องถิ่นในปัจจุบัน ที่สมาคมสินนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ได้แนบในเอกสารกาประชุมคณะกรรมาธิการบริหารสมาคมฯครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 55 ที่ผ่านมา อันเป็นประเด็นที่ ส.ท.ท.จะได้ร่วมกับภาคีท้องถิ่นอื่น เช่น สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย สมาคมอบจ.แห่งประเทศไทย รวมไปถึงสมาคม สมาพันธ์ และชมรมของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการต่อสู้และเรียกร้องให้ รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่อไป
          สำหรับประเด็นปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย 1.ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลกรณีจะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทนให้แก่ข้า ราชการที่มีวุฒิปริญญาตรี จำนวน 15,000 บาท และต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 9,000 บาท อันส่อว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเลิกจ้างพนักงานจ้าง เนื่องจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลปี 42 กำหนดไม่ให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเกินร้อยละ 40 เพราะหากจ่ายเงินตามอัตราข้างต้นก็อาจจะเกินร้อยละ 40 ตามที่กฎหมายกำหนด
          2.การ เดินทางไปราชการเพื่อศึกษาดูงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท. 0809.3/2912 ลงวันที่ 27 ก.ย. 53 เรื่องการเดินทางไปศึกษาดูงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เขียนล็อกไว้ ไม่ให้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เว้นแต่มีข้อตกลง พันธกิจกับหน่วยงานในต่างประเทศ  หรือกรณีที่จำเป็นและมีความสำคัญเกี่ยว ข้องกับภารกิจงานที่รับผิดชอบโดยตรง
          3.มีปัญหาเรื่องการเบิก จ่ายเงินเดือน เงินค่าตอบแทนของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุกการ และที่ปรึกษา เนื่องจากมีการปรับปรุงระเบียบกระทววงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 54 เป็นต้นมา โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดว่าการเบิกจ่ายเงินเทศบาลจะต้องมีงบพัฒนาในปีถัดๆ ไปไม่น้อยกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมา หากมีน้อยกว่าจะเบิกจ่ายเท่าใด  เนื่องจากอัตราเดิมได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และคำว่างบพัฒนา หมายถึงอะไร
          4.สิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษา พยาบาลของสำนักงานประกันสังคม สำหรับพนักงานจ้างกรณีประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่และในเวลาราชการไม่ สามารถเบิกจ่ายเงินจากประกันสังคมได้ โดยจะเบิกจ่ายได้นอกเวลาราชการเท่านั้น ทำให้เวลางานนายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตามระเบียบการรักษาพยาบาลไม่สามารถเบิกจ่ายได้ โดย ส.ท.ท.เสนอให้พิจารณาแก้ไขกฎหมายให้สามารถเบิกจ่ายเงินจากประกันสังคมได้หาก ประสบอุบัติเหตุในเวลางาน
          5.กรณีเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ที่จัดสรรให้กับโรงเรียนในสังกัดเทศบาล หากใช้เงินดังกล่าวไม่หมด ให้ส่งคือนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เสนอควรให้ตกเป็นเงินของเทศบาลเช่นเดิม
          และ 6.การแก้ไขหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการของ อปท. เนื่องจากปัจจุบันเทศบาลถูกทักท้วงจาก สตง.และเรียกเงินคืน ในการเบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาของพนักงาน/พนักงานจ้าง ที่ไปปฏิบัติหน้าที่นอกสำนักงานเทศบาล ตามโครงการต่างๆ ของเทศบาล เช่น งานประเพณีต่างๆ ที่ต้องจัดนอกสำนักงาน
          เนื่องจากคำจำกัดความ "เงินค่าตอบแทน" หมายความว่าเงินที่จ่ายให้พนักงานที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนัก งาน หรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการ นอกที่ตั้งสำนักงาน หรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะ และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน จึงขอให้แก้ไขคำจำกัดความ
          ใน จำนวน 6 ข้อข้างต้น ถือว่า ข้อ 1 ชาวท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลหนักใจมากที่สุด เนื่องจากต้องแบกภาระด้านค่าใช้จ่าย โดย ปัญหาดังกล่าวติดอยู่ที่ มาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นปี 42 ที่ระบุว่า "ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง ที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุน และเงินกู้ หรือเงินอื่นใดนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่งจะกำหนดสูงกว่าร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้"
          นอกจากนี้ยังมีมติ ก.ท.ครั้งที่ 12/2545 ลงวันที่ 23 ธ.ค. 45 ย้ำอีกว่า เงินอุดหนุนที่ไม่สามารถนำมาจ่ายเป็นเงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนอื่นนั้น ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนและสวัสดิการ สำหรับพนักงานครูเทศบาล และการถ่ายโอน ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
          ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นทั่วประเทศคือ หากท้องถิ่นมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการบริหารงานบุคคลเกินร้อยละ 40 ท้องถิ่นอาจจะต้องแก้ปัญหาด้วยการปรับอัตรากำลังข้าราชการ/พนักงานจ้าง/ค่า ใช้จ่ายอื่นๆ ลง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการพนักงานจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ อาจทำให้พนักงานจ้างต้องถูกออก/การลดอัตรากำลังในบางท้องถิ่น โดยอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้
          ที่สำคัญการจัดสรรเงิน อุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละปีไม่แน่นอน มีการปรับลดหรือเปลี่ยนแปลง ทั้งยอดเงินงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งแต่ละปีจัดสรรไม่เหมือนกันบางครั้งจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป บางครั้งเป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เช่น เบี้ยยังชีพ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายในการบริหารของ อปท.ชัดเจน ซึ่งงบประมาณเงินอุดหนุนนี้มีผลต่อการคำนวณเป็นรายจ่ายด้านบุคคล หากไม่แน่นอน ย่อมส่งผลให้เทศบาลประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายด้านบุคคล
          ส.ท.ท. เสนอให้รัฐบาล ปู ยิ่งลักษณ์ แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการ 1. รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลเพิ่มเติม อาจเป็นในรูปของงบกลาง หรืองบอุดหนุนเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน/ค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรของ อปท.ตามนโยบายของรัฐบาลที่เพิ่มเงินเดือน/ค่าตอบแทนของข้าราชการ/พนักงานต่ำ กว่าปริญญาตรี/ปริญญาตรี หรือ
          2.แก้ไขกฎหมายโดยยกเลิกวงเงิน ตามมาตรา 35 ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่น ใดนั้น อปท.ที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของ อปท.นั้น โดยใช้วิธีให้เทศบาลควบคุมภาระค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินเดือนค่าจ้าง หรือ
          3.แก้ไข กฎหมายโดยเพิ่มวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคล ตามมาตรา 35 จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 60 สำหรับการแก้ไขกฎหมายนั้น อาจจะใช้เวลานาน ฉะนั้นในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาโดยจัดสรรงบประมาณในการจ่ายเงินเดือน/ค่าตอบแทนให้ท้อง ถิ่น
          4.ในระหว่างที่รอแก้ไขกฎหมาย ควรจัดสรรเงินอุดหนุนโดยให้จัดสรรเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป เช่น เบี้ยยังชีพ เพื่อให้มีผลในการคำนวณร้อยละ 40 เพราะเงินอุดหนุนเฉพาะกิจไม่สามารถนำมาคำนวณได่เนื่องจากไม่ต้องตั้งในงบ ประมาณรายจ่ายของท้องถิ่น และ 5.เพิ่มวงเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ท้องถิ่น เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30-35
          นี่คือข้อเสนอของส.ท.ท.ในการประชุม กรรมาธิการบริหารครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 55 ที่ผ่านมา หากรัฐบาลนิ่งเฉย หรือไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา ส.ท.ท.ก็จะมีมาตรการโต้ตอบเช่นกัน โดยสุรพล สันติโชตินันท์ นายกเทศมนตรีตำบลแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ได้เสนอทางออก ด้วยการเปลี่ยนประเด็นเรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องของแรงงาน เรื่องจากที่ผ่านมามีการสรุปบทเรียนแล้วว่า หากให้บรรดานายกเทศมนตรีไปรวมกลุ่มประท้วงรัฐบาลในเรื่องงบประมาณหรือเรื่อง อื่นๆ ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาและตอบคำถามสังคมได้ว่าผู้บริหารท้องถิ่นมาเกี่ยว อะไรด้วย         
          ด้วยเหตุนี้ จึงเปลี่ยนประเด็นให้เป็นปัญหาแรงงาน ด้วยการจะให้ข้าราชการและลูกจ้างของท้องถิ่นประท้วงรัฐบาลด้วยการหยุดงาน พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นความลำบากของท้องถิ่น เนื่องจากท้องถิ่นไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการและลูกจ้างแต่ควรเป็น รัฐบาลที่ต้องหาเงินดังกล่าวมาจ่ายเพราะเป็นนโยบายหาเสียงของรัฐบาลเอง
          งาน นี้คนที่น่าจะต้องมารับรู้ปัญหาดังกล่าวคงหนีไม่พ้นวีระยุทธ เอี่ยมอำภา อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลท้องถิ่น ส่วนยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย คงจะลอยตัวเหนือปัญหา เพราะลงพื้นที่กับนายกฯปู ตลอด คงไม่มีเวลามาสะสางปัญหาให้ท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น