วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ปรามอปท.ขีดเส้นทวงงบฯ/มาร์คอัดรบ.โยนภาระท้องถิ่น


ปรามอปท.ขีดเส้นทวงงบฯ/มาร์คอัดรบ.โยนภาระท้องถิ่น

ปรามอปท.ขีดเส้นทวงงบฯ/มาร์คอัดรบ.โยนภาระท้องถิ่น

"ยง ยุทธ"ยันดูแลท้องถิ่นเต็มที่ หลัง ได้รับผลกระทบจากนโยบายเงินเดือน 15,000 ลั่นไม่หวั่นม็อบ"อปท."หนุน"วรวัจน์"เป็น"มท.1"แทน  เตือน"อปท." เป็นข้าราชการต้องระมัดระวังคำพูด "มาร์ค"จวกประชานิยมรัฐบาลโยนภาระท้องถิ่น ชี้อบต.-เทศบาลมีเงินพัฒนาเหลือแค่จิ๊บจ๊อย
    เมื่อวันที่ 5 ก.ย.55 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีสมาชิกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)แห่งประเทศไทย เดินทางมายื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ปริญญาตรี 15,000 บาท พร้อมเรียกร้องให้ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ขึ้นมาเป็นรมว.มหาดไทย แทน ว่า อยากจะพูดอะไรก็พูดไป โดยเฉพาะเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องระมัดระวังเรื่องพวกนี้ด้วย แต่ตนไม่ได้ยินกับหู เขาอาจจะไม่ได้พูดก็ได้ เดี๋ยวตนพูดไปเรื่องก็ไม่จบ เอาเป็นว่าเขาจะพูดอะไรก็พูดไป ตนก็จะพยายามแก้ไขปัญหาให้ แต่คงไม่กำหนดเส้นตายว่าเป็นเมื่อไหร่ คงทำอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องให้เวลาและจะดูแลเป็นอย่างดี เพราะเป็นข้าราชการ และตนก็เคยเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นมาก่อน
    เมื่อถามว่า ที่มีการร้องเรียนเพราะเงินเดือนค่อนข้างจะน้อยมาก และต้องมารับภาระเรื่องค่าครองชีพด้วย นายยงยุทธ กล่าวว่า ก็เข้าใจ ซึ่งก็มีวิธีแก้ไข ค่อยๆรอดูไป เมื่อถามว่า ภาษีในท้องถิ่นของเขาเยอะหรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า ก็เยอะ และบางท้องถิ่นก็ไม่ค่อยจะพอ แต่บางท้องถิ่นก็มี ซึ่งก็ต้องเฉลี่ยกัน เรื่องนี้นายกฯก็เป็นห่วงอยู่และได้พูดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชัดเจน ว่าจะหาทางแก้ไขให้ กรณีเงินไม่พอจะนำเงินส่วนไหนมาสนับสนุน รมว.มหาดไทย  กล่าวว่า ส่วนหนึ่งก็มีเงินสะสมของทางเทศบาลที่เหลืออยู่ และที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) จะพิจารณาหางบประมาณมาก็มี
    วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ออกมาเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา จากนี้ไปข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น จะต้องมีเงินเดือน 15,000 บาท ลูกจ้าง 300 บาท ว่า เมื่อรัฐบาลยืนยันนโยบายนี้กับคนในภาครัฐ ก็จำเป็นที่จะต้องให้กับท้องถิ่นด้วย
    นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ทำนโยบายเบี้ยยังชีพ นโยบาย อสม. หรือนโยบายอื่น ๆ นั้น แล้วงบมันต้องไปทำผ่านท้องถิ่น แล้วก็ไปนับว่าเป็นสัดส่วนของท้องถิ่นเขา ตนก็ได้เจรจาตกลงกับท้องถิ่นแล้วว่า จริง ๆ เราจะถอดตัวนี้จากการนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบท้องถิ่น คือ ท้องถิ่นเขาควรจะได้สัดส่วน สมมติว่า 27-28% เราไม่ควรไปนับรวมนโยบายที่เรากำหนดไปให้เขา ก็ตกลงกันไว้เรียบร้อย ทำแผนเรียบร้อยว่าภายใน 2 ปี คือ ภายในปี 56 งบปี 56 นี้ ก็จะถอดออกมาได้
    "ขณะนั้นพรรคเพื่อไทยก็เป็นฝ่ายค้าน ก็เรียกร้องเรื่องนี้ แต่ว่าพอเป็นรัฐบาลกลับไม่ได้ทำ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นว่า แถมเรื่องนโยบายของตัวเองเข้าไปเป็นภาระของท้องถิ่นมากขึ้น แล้วก็งบประมาณที่เป็นลักษณะของอุดหนุนเฉพาะกิจกลับเพิ่มขึ้น งบทั่วไปกับน้อยลง ซึ่งถ้าดูตัวเลขของ อบต. และเทศบาล พบว่ามีเงินพัฒนาอยู่เพียงล้าน 2 ล้านเท่านั้นเอง อันนี้เป็นจุดที่จะต้องมาช่วยกันแก้ไข ขณะนี้จริง ๆ แล้วในสภาฯเองก็มีการระดมความคิดกันอยู่พอสมควร เรื่องการปรับโครงสร้างของท้องถิ่น เพื่อที่จะไม่ให้มันเป็นภาระในลักษณะนี้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
 

มท.1ลั่นเร่งแก้ค่าครองชีพอปท. 
ข่าวสด  Issued date 6 September 2012

          เมื่อ วันที่ 5 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)เรียกร้องเรื่องค่าตอบแทน เพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบแก้ปัญหาแทนที่จะอปท.แบกรับภาระค่าใช้จ่าย และยังเรียกร้องให้รมว.มหาดไทยลาออกว่า อยากพูดอย่างไรก็พูดไป แต่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นต้องระวังเรื่องนี้ด้วย ตนจะพยายามแก้ปัญหาให้
          เมื่อ ถามว่าจะแก้ไขภายในเดือนต.ค.อย่างที่มีการเรียกร้องได้หรือไม่ นายยงยุทธกล่าวว่า จะรีบทำ ซึ่งมีวิธีแก้ไขอยู่ ขอให้รอดูเพราะบางท้องถิ่นมีงบประมาณมาก บางแห่งก็มีพอ ต้องเฉลี่ยกันไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งยังมีเงินสะสมของเทศบาลเหลืออยู่ นอกจากนั้นจะต้องหางบประมาณมาชดเชย แต่จะกำหนดเส้นตายว่าเมื่อนั้นเมื่อนี้แล้วทำไม่ได้ ควรให้เวลา ตนเคยเป็นข้าราชการท้องถิ่นมาก่อน ซึ่งนายกฯเป็นห่วงและพูดในที่ประชุมครม.ชัดเจนว่าต้องแก้ปัญหาให้เขา
          นาย ยงยุทธยังกล่าวถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกระทรวงมหาดไทยว่า การแต่งตั้งคำนึงหลักยุติธรรม ซึ่งต้องให้โอกาสทำงานก่อน ส่วนกระแสข่าวว่าแต่งตั้งแต่ข้าราชการที่จบแต่รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสิงห์ดำนั้น ไม่เป็นความจริง ทุกอย่างอยู่ที่ความเป็นจริง คำนึงถึงหลักความเหมาะสมและความสามารถของข้าราชการมากกว่า
          ต่อ ข้อถามถึงกระแสข่าวนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นายยงยุทธ กล่าวว่า ไม่จริง เราต้องให้ความยุติธรรมกับเหตุการณ์ กับผู้คนบ้าง อย่าเอาแต่ข่าวซุบซิบมาเป็นข่าวใหญ่
          นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดี ปภ. กล่าวถึงครม.มีมติแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า ตนพร้อมทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดตามนโยบายรัฐบาล ทำในสิ่งที่ถูกต้องและยึดตามหลักของกระทรวงมหาดไทย คือการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน
          เมื่อถามถึงกระแสข่าวได้รับการผลักดัน ขึ้นเป็นปลัดกระทรวง เพราะเป็นสิงห์ดำ นายวิบูลย์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่ได้ยึดเรื่องสถาบันที่จบ เพราะเวลาทำงาน ไม่เคยถามว่าใครจบจากที่ไหน ตนสามารถทำงานกับทุกคนได้ และตนปฏิบัติเช่นนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่หากเป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ยืนยันว่าทำงานได้กับทุกคนโดยไม่มีอคติ หรือคิดว่าต้องจบจากที่เดียวกัน เพราะทุกคนต้องทำตามหน้าที่ที่ตัวเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ค่าครองชีพชั่วคราว

ครม.เห็นชอบเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่ขรก.-พนง.-ลูกจ้างอปท.

+ อันดับข่าวอ่านมากที่สุดนี้


(4ก.ย.2555) - น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงข่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม. มีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เป็นประธานกรรมการ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2555 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ที่เห็นชอบในหลักการ การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและ ลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐให้มีรายได้เพียงพอ ต่อการดำรงชีพ ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับสูงขึ้น และให้มีความเท่าเทียมกับบุคลากรภาครัฐอื่น ๆ โดยให้ยึดถือแนวปฏิบัติ ดังนี้

1. กรณีเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล (ปริญญาตรี 15,000 บาท และค่าแรง 300 บาท) เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามที่ได้จ่ายจริงขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดมีรายได้เพียงพอ ก็ให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีรายได้เพียงพอ ให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาทบทวนเกณฑ์ การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปสำหรับดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และภารกิจถ่ายโอน

2. กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอื่นเกินกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เห็นควรให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรภาษีและค่า ธรรมเนียมรถยนต์ และเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และค่าธรรมเนียมล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน ที่จัดสรรให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ร้อยละ 100 โดยลดสัดส่วนการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลง เพื่อนำมาจัดสรรเพิ่มให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน ค่าจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

3. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการ รับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 90 กรณีที่งบประมาณรายจ่ายประกาศใช้บังคับแล้ว หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจ่ายในกรณีรับโอน เลื่อนระดับ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานส่วนท้องถิ่น การเบิกเงินให้พนักงานส่วนท้องถิ่นตามสิทธิตลอดจนลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงิน อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทยในระหว่างปีงบประมาณ หรือไม่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนั้นไว้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายขาดเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากผู้บริหารส่วนท้องถิ่นและให้ถือเป็นรายจ่ายในปีนั้น

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

เงินเดือนป.ตรี 15,000 พ่นพิษ ท้องถิ่นระส่ำ-บี้รบ.จ่ายเอง


คอลัมน์ เจาะประเด็นร้อนอปท.: เงินเดือนป.ตรี 15,000 พ่นพิษ ท้องถิ่นระส่ำ-บี้รบ.จ่ายเอง  
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555           อัมพร สิทธิผา
         
          น่า สนใจประเด็นปัญหาของคนท้องถิ่นในปัจจุบัน ที่สมาคมสินนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ได้แนบในเอกสารกาประชุมคณะกรรมาธิการบริหารสมาคมฯครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 55 ที่ผ่านมา อันเป็นประเด็นที่ ส.ท.ท.จะได้ร่วมกับภาคีท้องถิ่นอื่น เช่น สมาคม อบต.แห่งประเทศไทย สมาคมอบจ.แห่งประเทศไทย รวมไปถึงสมาคม สมาพันธ์ และชมรมของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการต่อสู้และเรียกร้องให้ รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่อไป
          สำหรับประเด็นปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย 1.ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลกรณีจะมีการปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทนให้แก่ข้า ราชการที่มีวุฒิปริญญาตรี จำนวน 15,000 บาท และต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 9,000 บาท อันส่อว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเลิกจ้างพนักงานจ้าง เนื่องจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลปี 42 กำหนดไม่ให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเกินร้อยละ 40 เพราะหากจ่ายเงินตามอัตราข้างต้นก็อาจจะเกินร้อยละ 40 ตามที่กฎหมายกำหนด
          2.การ เดินทางไปราชการเพื่อศึกษาดูงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท. 0809.3/2912 ลงวันที่ 27 ก.ย. 53 เรื่องการเดินทางไปศึกษาดูงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เขียนล็อกไว้ ไม่ให้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เว้นแต่มีข้อตกลง พันธกิจกับหน่วยงานในต่างประเทศ  หรือกรณีที่จำเป็นและมีความสำคัญเกี่ยว ข้องกับภารกิจงานที่รับผิดชอบโดยตรง
          3.มีปัญหาเรื่องการเบิก จ่ายเงินเดือน เงินค่าตอบแทนของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุกการ และที่ปรึกษา เนื่องจากมีการปรับปรุงระเบียบกระทววงมหาดไทยว่าด้วยเงินเดือน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 54 เป็นต้นมา โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดว่าการเบิกจ่ายเงินเทศบาลจะต้องมีงบพัฒนาในปีถัดๆ ไปไม่น้อยกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมา หากมีน้อยกว่าจะเบิกจ่ายเท่าใด  เนื่องจากอัตราเดิมได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และคำว่างบพัฒนา หมายถึงอะไร
          4.สิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษา พยาบาลของสำนักงานประกันสังคม สำหรับพนักงานจ้างกรณีประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่และในเวลาราชการไม่ สามารถเบิกจ่ายเงินจากประกันสังคมได้ โดยจะเบิกจ่ายได้นอกเวลาราชการเท่านั้น ทำให้เวลางานนายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตามระเบียบการรักษาพยาบาลไม่สามารถเบิกจ่ายได้ โดย ส.ท.ท.เสนอให้พิจารณาแก้ไขกฎหมายให้สามารถเบิกจ่ายเงินจากประกันสังคมได้หาก ประสบอุบัติเหตุในเวลางาน
          5.กรณีเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว ที่จัดสรรให้กับโรงเรียนในสังกัดเทศบาล หากใช้เงินดังกล่าวไม่หมด ให้ส่งคือนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เสนอควรให้ตกเป็นเงินของเทศบาลเช่นเดิม
          และ 6.การแก้ไขหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการของ อปท. เนื่องจากปัจจุบันเทศบาลถูกทักท้วงจาก สตง.และเรียกเงินคืน ในการเบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาของพนักงาน/พนักงานจ้าง ที่ไปปฏิบัติหน้าที่นอกสำนักงานเทศบาล ตามโครงการต่างๆ ของเทศบาล เช่น งานประเพณีต่างๆ ที่ต้องจัดนอกสำนักงาน
          เนื่องจากคำจำกัดความ "เงินค่าตอบแทน" หมายความว่าเงินที่จ่ายให้พนักงานที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนัก งาน หรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการ นอกที่ตั้งสำนักงาน หรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะ และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน จึงขอให้แก้ไขคำจำกัดความ
          ใน จำนวน 6 ข้อข้างต้น ถือว่า ข้อ 1 ชาวท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลหนักใจมากที่สุด เนื่องจากต้องแบกภาระด้านค่าใช้จ่าย โดย ปัญหาดังกล่าวติดอยู่ที่ มาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นปี 42 ที่ระบุว่า "ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง ที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุน และเงินกู้ หรือเงินอื่นใดนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่งจะกำหนดสูงกว่าร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้"
          นอกจากนี้ยังมีมติ ก.ท.ครั้งที่ 12/2545 ลงวันที่ 23 ธ.ค. 45 ย้ำอีกว่า เงินอุดหนุนที่ไม่สามารถนำมาจ่ายเป็นเงินเดือน และ ประโยชน์ตอบแทนอื่นนั้น ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนและสวัสดิการ สำหรับพนักงานครูเทศบาล และการถ่ายโอน ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
          ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นทั่วประเทศคือ หากท้องถิ่นมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการบริหารงานบุคคลเกินร้อยละ 40 ท้องถิ่นอาจจะต้องแก้ปัญหาด้วยการปรับอัตรากำลังข้าราชการ/พนักงานจ้าง/ค่า ใช้จ่ายอื่นๆ ลง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการพนักงานจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ อาจทำให้พนักงานจ้างต้องถูกออก/การลดอัตรากำลังในบางท้องถิ่น โดยอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้
          ที่สำคัญการจัดสรรเงิน อุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละปีไม่แน่นอน มีการปรับลดหรือเปลี่ยนแปลง ทั้งยอดเงินงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งแต่ละปีจัดสรรไม่เหมือนกันบางครั้งจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป บางครั้งเป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เช่น เบี้ยยังชีพ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายในการบริหารของ อปท.ชัดเจน ซึ่งงบประมาณเงินอุดหนุนนี้มีผลต่อการคำนวณเป็นรายจ่ายด้านบุคคล หากไม่แน่นอน ย่อมส่งผลให้เทศบาลประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายด้านบุคคล
          ส.ท.ท. เสนอให้รัฐบาล ปู ยิ่งลักษณ์ แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการ 1. รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลเพิ่มเติม อาจเป็นในรูปของงบกลาง หรืองบอุดหนุนเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน/ค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรของ อปท.ตามนโยบายของรัฐบาลที่เพิ่มเงินเดือน/ค่าตอบแทนของข้าราชการ/พนักงานต่ำ กว่าปริญญาตรี/ปริญญาตรี หรือ
          2.แก้ไขกฎหมายโดยยกเลิกวงเงิน ตามมาตรา 35 ในการจ่ายเงินเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงินค่าจ้างของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างที่นำมาจากเงินรายได้ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่น ใดนั้น อปท.ที่กำหนดให้ไม่เกินร้อยละสี่สิบของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของ อปท.นั้น โดยใช้วิธีให้เทศบาลควบคุมภาระค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินเดือนค่าจ้าง หรือ
          3.แก้ไข กฎหมายโดยเพิ่มวงเงินค่าใช้จ่ายด้านบุคล ตามมาตรา 35 จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 60 สำหรับการแก้ไขกฎหมายนั้น อาจจะใช้เวลานาน ฉะนั้นในปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาโดยจัดสรรงบประมาณในการจ่ายเงินเดือน/ค่าตอบแทนให้ท้อง ถิ่น
          4.ในระหว่างที่รอแก้ไขกฎหมาย ควรจัดสรรเงินอุดหนุนโดยให้จัดสรรเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป เช่น เบี้ยยังชีพ เพื่อให้มีผลในการคำนวณร้อยละ 40 เพราะเงินอุดหนุนเฉพาะกิจไม่สามารถนำมาคำนวณได่เนื่องจากไม่ต้องตั้งในงบ ประมาณรายจ่ายของท้องถิ่น และ 5.เพิ่มวงเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ท้องถิ่น เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30-35
          นี่คือข้อเสนอของส.ท.ท.ในการประชุม กรรมาธิการบริหารครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 55 ที่ผ่านมา หากรัฐบาลนิ่งเฉย หรือไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา ส.ท.ท.ก็จะมีมาตรการโต้ตอบเช่นกัน โดยสุรพล สันติโชตินันท์ นายกเทศมนตรีตำบลแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ได้เสนอทางออก ด้วยการเปลี่ยนประเด็นเรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องของแรงงาน เรื่องจากที่ผ่านมามีการสรุปบทเรียนแล้วว่า หากให้บรรดานายกเทศมนตรีไปรวมกลุ่มประท้วงรัฐบาลในเรื่องงบประมาณหรือเรื่อง อื่นๆ ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาและตอบคำถามสังคมได้ว่าผู้บริหารท้องถิ่นมาเกี่ยว อะไรด้วย         
          ด้วยเหตุนี้ จึงเปลี่ยนประเด็นให้เป็นปัญหาแรงงาน ด้วยการจะให้ข้าราชการและลูกจ้างของท้องถิ่นประท้วงรัฐบาลด้วยการหยุดงาน พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นความลำบากของท้องถิ่น เนื่องจากท้องถิ่นไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการและลูกจ้างแต่ควรเป็น รัฐบาลที่ต้องหาเงินดังกล่าวมาจ่ายเพราะเป็นนโยบายหาเสียงของรัฐบาลเอง
          งาน นี้คนที่น่าจะต้องมารับรู้ปัญหาดังกล่าวคงหนีไม่พ้นวีระยุทธ เอี่ยมอำภา อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลท้องถิ่น ส่วนยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย คงจะลอยตัวเหนือปัญหา เพราะลงพื้นที่กับนายกฯปู ตลอด คงไม่มีเวลามาสะสางปัญหาให้ท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ